พฤติกรรมบางอย่างที่อาจดูเป็นเรื่องปกติของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นการไม่ค่อยฟังผู้ใหญ่ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ไม่ยอมอยู่นิ่งๆ ลืมทำการบ้าน เหม่อลอยในห้องเรียน ฯลฯ อาจไม่ใช่เพราะลูกเราเกเรหรือไร้ระเบียบวินัย แต่อาจเป็นสัญญาณว่าลูกเป็นโรคสมาธิสั้นก็ได้
โรคสมาธิสั้น หรือ Attention Deficit Hyperactivity Disorder (ADHD หรือ ADD) เป็นภาวะที่เกิดกับเด็กหลายคนในปัจจุบัน โดยมักมีอาการไม่สนใจ ดูกระวนกระจายใจ และหุนหันพลันแล่น1 ซึ่งจะแสดงออกมาด้วยการนั่งเฉยๆ ไม่ได้ ไม่ค่อยทำตามคำสั่ง หรือควบคุมตัวเองไม่ได้ แต่พ่อแม่จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกเป็นเด็กสมาธิสั้นหรือแค่มีพฤติกรรมอย่างเด็กทั่วไป วันนี้ My Honey Bun ได้รวบรวมวิธีสังเกตพร้อมคำแนะนำการรับมือมาไว้ให้แล้วค่ะ
ADD หรือ ADHD เป็นคำย่อที่เราใช้เรียกอาการของเด็กสมาธิสั้น ซึ่งจะมีความแตกต่างด้านพัฒนาการทางสมองและการทำงานของสมอง ส่วนอาการนั้นจะแสดงออกทางอารมณ์และความสนใจเป็นหลัก เช่น เด็กไม่สามารถนั่งอยู่นิ่งๆ และไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ จนอาจส่งผลกระทบต่อการเรียน และความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับเพื่อนหรือคนในครอบครัว2
อาการของโรคสมาธิสั้นมักปรากฏในเด็กอายุก่อน 7 ขวบเป็นส่วนใหญ่ ทำให้มีความยากในการจำแนกความแตกต่างระหว่างโรคสมาธิสั้นกับพฤติกรรมซนๆ ของเด็กได้เหมือนกัน
อ่านต่อ
ลูกเรียนอ่อน? หรือมีอาการบกพร่องด้านการอ่าน (Dyslexia)?
เกเร? ก้าวร้าว? ถึงคราวงานเข้า เมื่อลูกเราไปแกล้งเพื่อน
ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่เฉพาะเจาะจงของโรคสมาธิสั้นไว้อย่างชัดเจนมากนัก แต่มีหลักฐานว่าความผิดปกติของพันธุกรรมมีส่วนทำให้เกิดโรคสมาธิสั้นได้เช่นกัน โดย 3 ใน 4 ของเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น มักมีญาติหรือคนใกล้ชิดที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม3 นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่อาจทำให้เกิดโรคนี้ได้เช่นกัน อย่างอาการบาดเจ็บทางสมอง การคลอดก่อนกำหนด การสูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์ของมารดาในขณะตั้งครรภ์ รวมทั้งภาวะเครียดระหว่างตั้งครรภ์ด้วย
เด็กสมาธิสั้นไม่จำเป็นต้องเป็นเด็กไฮเปอร์อยู่ไม่สุขเสมอไป แต่อาจเป็นเด็กนิ่งๆ ที่มักเหม่อลอยและโฟกัสกับอะไรเป็นเวลานานไม่ได้ แต่โดยปกติแล้ว โรคสมาธิสั้นมักแสดงอาการออกมา 3 ประการดังนี้
เมื่อผู้ปกครองสังเกตว่าลูกตนเองมีอาการข้างต้น โดยมีอาการหลายอย่างร่วมกัน เกิดขึ้นบ่อยๆ และในหลายสถานการณ์ (เช่น ทั้งที่บ้าน โรงเรียน หรือในสนามเด็กเล่น) อาจเป็นสัญญาณว่าลูกเราเป็นเด็กสมาธิสั้น อย่างไรก็ดี ควรพาเด็กไปรับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์เพื่อหาแนวทางรักษาและบรรเทาอาการต่อไปดังนี้
การสังเกตได้ไวและรักษาอย่างเหมาะสม จะช่วยให้เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นมีพัฒนาการที่ดีขึ้นได้ ขอเพียงให้คำปรึกษา ดูแล และสอนลูกอย่างถูกวิธี เด็กก็จะสามารถเติบโตและใช้ชีวิตประจำวันอย่างไร้ปัญหาเหมือนเด็กคนอื่นค่ะ